EP.2 พารู้จัก IC License P1 หรือ IC Plain หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป

EP.2 พารู้จัก IC License P1 หรือ IC Plain หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป

IC License P1 ตราสารทั่วไป

 หลักสูตร IC License P1 เป็นหลักสูตรพื้นฐานที่เกี่ยวกับความรู้เรื่องตราสารทั่วไปซึ่งเป็นหลักสูตรแรกที่ควรจะเรียนเนื่องจะว่าจะได้นำองค์ความรู้ทั้งหมดของหลักสูตรนี้ไปต่อยอดในหลักสูตรต่อๆไปได้ ( เช่น IC License P2, IC License P3) ขึ้นชื่อว่าเป็นหลักสูตรพื้นฐานก็ต้องมีเนื้อหาที่มากพอสมควรแต่ถ้าค่อยๆเรียนค่อยๆอ่านกันไปก็จะเข้าใจได้ไม่ยากค่ะ นอกจากจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับตราสารทั่ว ๆ ไปแล้วยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณให้เราได้ศึกษากันอีกด้วย งั้นลองไปดูกันเลยว่าเนื้อหาแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและมีอะไรบ้าง

เนื้อหา IC P1

>>> เนื้อหา IC License P1 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ

1. ความรู้พื้นฐาน - หัวข้อนี้จะพูดถึงภาพรวมของตลาดการเงิน อัตราผลตอบแทนความเสี่ยงในการลงทุน การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วย
2. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม – หัวข้อนี้จะพูดถึงกฎระเบียบการปฏิบัติตนที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุน
3. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน: ตราสารทั่วไป – หัวข้อนี้จะพูดถึงภาพรวมความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับตราสารทุนและตราสารหนี้

จำนวนข้อสอบ IC P1

สำหรับข้อสอบและเกณฑ์การสอบผ่าน IC License P1 
  • ข้อสอบจะมีทั้งหมด 100 ข้อ ใช้เวลาในการทดสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที (เฉลี่ยข้อละประมาณ 1 นาทีครึ่ง)
  • เกณฑ์ในการสอบผ่านคือ 70 ข้อขึ้นไปจาก 100 ข้อ หรือคิดเป็น 70% ของคะแนนรวมและหมวดที่ 2 จะต้องผ่าน 14 ข้อขึ้นไปจาก 20 ข้อ หรือคิดเป็น 70%
  • ราคาในการสอบ 1,200 บาท
  • ส่วนตัวเนื้อหาโครงสร้างในการสอบเป็นไปตามตารางด้านล่างเลยค่ะ
เนื้อหา IC P1

ผ่านไปแล้วกับเนื้อหาในส่วนของ IC License P1 เป็นยังไงกันบ้างคะ เริ่มเข้าใจกันมากขึ้นไหมคะ ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกสนใจอยากศึกษาเกี่ยวกับ IC License P1 ก็ของฝากอ.ท๊อป ไว้ในใจด้วยนะคะ สำหรับ IC License P1 ของอ.ท๊อป มีให้เลือกถึง 3 ฟังก์ชั่น ที่จะให้เลือกเรียนเลือกอ่านได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนด้วยนะคะ

  1. คอร์สสด – สำหรับคนที่มีเวลาแบบ 3 วันเต็มๆ ที่อยากเรียนแบบพบหน้าอาจารย์และได้สัมผัสบรรยากาศในห้องเรียนแบบสด ๆ ได้ลองทำแบบทดสอบแบบจับเวลาพร้อมกันในห้องเรียน
  2. คอร์สออนไลน์ – สำหรับคนที่ไม่มีเวลาเรียนตรงกับวันที่มีเรียนคอร์สสดหรือสำหรับคนที่มีเวลาเรียนต่อวันแบบจำกัดและสามารถย้อนวีดีโอดูได้หากมีตรงไหนที่ยังสงสัย
  3. เซตหนังสือ 3 เล่ม – สำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือและทำความเข้าใจเองมากกว่าการเรียน มีแบบฝึกหัดให้ลองทำพร้อมเฉลยอย่างละเอียดครบจบใน 3 เล่ม
IC License P1

ถ้าใครสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ผ่าน Line: @yourwisdom หรือคลิ๊กที่ https://line.me/R/ti/p/%40lvd6439w ได้เลย

EP.1 IC License คืออะไร? มีกี่ประเภท? ใครบ้างที่ควรสอบ IC License?

EP.1 IC License คืออะไร? มีกี่ประเภท? ใครบ้างที่ควรสอบ IC License?

หลักสูตรในการทดสอบ IC License แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. IC P1 หรือ Plain product เป็นการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ โดยเนื้อหาหลัก ๆ จะเน้นไปที่การทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ และกองทุนรวม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม หรือจรรยาบรรณ การเป็นผู้ทำหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน
  2. IC P2 หรือ Complex Products (Bond and Mutual Fund) เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงและ/หรือมีความซับซ้อน เช่น ตราสารหนี้ High yield bond (HYB), Structure Note, Hedge fund
  3. IC P3 หรือ Complex Products (Derivatives) เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มธุรกรรมด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือที่เรียกว่า ตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ Futures, Forward, SWAP, Options

ชื่อผู้แนะนำการลงทุน (IC: Investment Consultant) ตามที่สำนักงาน กลต. กำหนด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

  1. IC Plain คือ ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป โดยจะต้องสอบผ่านในหลักสูตร IC P1
  2. IC Complex คือ ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อน ซึ่งจะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท
    2.1 IC Complex 1 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภทที่ 1) โดยจะต้องสอบผ่านในหลักสูตร IC P1, P2 และ P3
    2.2 IC Complex 2 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภทที่ 2) โดยจะต้องสอบผ่านในหลักสูตร IC P1 และ P2
    2.3 IC Complex 3 (ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภทที่ 3) โดยจะต้องสอบผ่านในหลักสูตร IC P1 และ P3
    ใครบ้างที่ควรสอบ IC License?
    หลัก ๆ คนที่ต้องใช้ IC License แน่ ๆ ถ้าหากไม่มีจะไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ นั่นคือ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแนะนำการลงทุน เช่น มาร์เก็ตติ้งที่ขายเกี่ยวกับหุ้น (มาร์) ส่วนมากทำงานในบริษัทหลักทรัพย์, ผู้ที่เสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของพนักงานธนาคาร หรือตัวแทนอิสระ รวมไปถึงตัวแทนประกันชีวิตที่มีการเสนอขายประกันควบการลงทุน (Unit-linked) นอกจากนี้ สำหรับคนที่ไม่เคยมีความรู้ทางการเงินและการลงทุนมาก่อนก็สามารถมาเรียนเพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ขายอยู่ในตลาดได้เช่นกัน

Tag. IC license, IC plain, Single license, ติว IC, อบรม IC, IC คืออะไร, P1, P2, P3, Complex product, ข้อสอบ IC License, แนวข้อสอบ IC, IC P1